รีวิว 5 ฟีเจอร์เด็ดจาก Galaxy Z Fold3 5G ยกระดับวิถีสมาร์ทไลฟ์

รีวิว 5 ฟีเจอร์เด็ดจาก Galaxy Z Fold3 5G ยกระดับวิถีสมาร์ทไลฟ์

รีวิว 5 ฟีเจอร์เด็ดจาก Galaxy Z Fold3 5G เปลี่ยนรูปแบบการใช้สมาร์ทโฟนทำงานแบบเดิม ๆ ด้วยฟังก์ชันเด็ดดวง ที่มีเฉพาะในรุ่นนี้เท่านั้น จะมีอะไรบ้างตามมาดูในนี้กันได้เลย Samsung Galaxy Z Fold3 5G คือสมาร์ทโฟนที่กำหนดนิยามใหม่ให้กับการทำงานแบบมัลติทาส์กกิ้ง ผ่านการรวบรวมทุกฟีเจอร์ที่ผู้ใช้ต้องการมาไว้ในเครื่องเดียว

ซึ่งจากคุณสมบัติแบบ 3-in-1 

ทั้งการเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ ทำให้สมาร์ทโฟนรุ่นนี้เปรียบเสมือนขุมพลังแห่งการทำงานที่พกพาไปได้ทุกที่อย่างง่ายดาย รู้อย่างนี้แล้ว เตรียมเก็บกระเป๋าแล็ปท็อปเอาไว้ที่บ้าน และมาลองดูกัน Galaxy Z Fold3 5Gจะเปลี่ยนชีวิตการทำงานของคุณไปได้อย่างไร

เมื่อใช้งาน Flex Mode คุณจะสามารถวาง Galaxy Z Fold3 5G เพื่อใช้ประชุมออนไลน์ได้ทุกที่ โดยไม่ต้องพิงหรือใช้แท่นวาง และยังหมดกังวลกับการต้องหาสมุดกับปากกามาจดโน้ตระหว่างประชุม เพราะด้วยความสามารถของ S Pen และฟีเจอร์ Multi-Active Window

ทำให้คุณสามารถเรียกใช้งาน Samsung Notes เพื่อจดโน้ตบริเวณจอครึ่งล่าง หรือเมื่อตอบอีเมล ก็ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ตอบอีกต่อไป เพราะ Microsoft Outlook ในสมาร์ทโฟนรุ่นนี้ รองรับฟีเจอร์การแปลงลายมือเป็นข้อความโดยอัตโนมัติอีกด้วย

นอกจากนี้ หลากหลายฟังก์ชันที่คนนิยมใน S Pen ก็มาอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนข้อความลงบนหน้าจอด้านนอกโดยไม่ต้องปลดล็อก การแก้ไขเอกสารในรูปแบบ PDF พร้อมบันทึกเสียงเพื่อแนบเป็นคำอธิบายเพิ่มเติมก่อนแชร์ต่อ การเลือกใช้งาน Air Command เพื่อควบคุมปุ่มลัดต่างๆ หรือหากใครที่ทำงานด้วยการสื่อสารหลายภาษา ก็สามารถเรียกใช้เครื่องมือแปล (Translate) ได้ทันที ไม่ต้องสลับไปมาหลายแอปให้เสียเวลา ซัมซุงยังได้ร่วมมือกับไมโครซอฟต์ เพื่อให้การประชุมหรือเบรนสตรอมงานร่วมกันแม้อยู่ต่างสถานที่เป็นไปได้ง่ายขึ้น ด้วยการออกแบบไวท์บอร์ดเสมือนจริง (Virtual Whiteboard)

โดดเด่นด้วยการใช้งาน 3 แอปพลิเคชันได้พร้อมกัน ไม่ต้องเสียเวลาสลับแอปไปมา ซึ่งฟีเจอร์นี้ทำให้คุณสามารถดูตารางงาน พร้อมกับอ่านอีเมล รวมถึงแชทคุยกับเพื่อนร่วมงานไปพร้อมกันได้ หรือแก้ไขไฟล์ Excel พร้อมบวกเลขผ่านแอปเครื่องคิดเลข ก่อนส่งออกผ่าน Microsoft Outlook

ซึ่งแต่ละหน้าจอสามารถปรับขนาดความสูงหรือความกว้างได้ตามต้องการ หรือจะแบ่งหน้าจอออกเป็นสองส่วน ผ่าน Flex Mode ก็ทำได้เช่นกัน ทั้งนี้ หากแอปพลิเคชันไหน ไม่รองรับการทำงานบน Flex Mode ซัมซุงได้เตรียมฟีเจอร์ Labs เพื่อปรับให้แอปพลิเคชันนั้นสามารถใช้งานแบบแบ่งครึ่งหน้าจอได้อีกด้วย

แอปพลิเคชันด้านการทำงาน รวมถึงแอปพลิเคชันที่ผู้ใช้นิยมใช้งานเป็นประจำ ได้ถุกออกแบบให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นใน Galaxy Z Fold3 5G เช่น แอปพลิเคชันส่งข้อความ ก่อนหน้านี้ คุณต้องทำการปิดแชทหนึ่งก่อนเปิดใช้งานอีกแชท แต่ตอนนี้ด้วยหน้าจอขนาดใหญ่

ทำให้ลิสต์กลุ่มแชทจะปรากฏขึ้นทางด้านซ้าย และข้อความจะแสดงทางด้านขวา ทำให้เห็นทุกอย่างได้พร้อมกันในครั้งเดียว หรือแม้กระทั่งแอปพลิเคชันปฏิทิน สำหรับการดูตารางงานต่างๆ เมื่อก่อนนี้ แผงเมนูจะรบกวนสายตายามที่เราเลือกใช้ และทำให้พื้นที่บนหน้าจอลดลง แต่ด้วย UI 3.1.1 ทุกอย่างได้รับการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ใช้งานง่ายและชัดเจน

Twitter – พลังบทสนทนาบนทวิตเตอร์ : แชร์ข้อมูล รู้ทัน รับมือช่วงภัยพิบัติ

Twitter มีบทบาทสำคัญอย่างต่อเนื่องในการให้ข้อมูลที่ทรงประสิทธิภาพ ผ่านการสนทนาแบบเรียลไทม์ ท่ามกลางวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ กรุงเทพฯ, 29 กันยายน 2021 – การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนั้นมีส่วนทำให้เกิดสถานการณ์ต่างๆ ทั่วโลก และยิ่งผลักดันให้เกิดปรากฏการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ มากขึ้นอีกด้วย อาทิ การเกิดน้ำท่วมใหญ่ ไฟป่า และพายุไต้ฝุ่น ในขณะที่สภาพอากาศเลวร้ายทั่วโลก พบว่าผู้คนต่างหันมาใช้ทวิตเตอร์ทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติเหล่านี้ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งนี้การสนทนาแบบเรียลไทม์ซึ่งขับเคลื่อนโดยข้อมูลเชิงลึกทางสังคมและการวิเคราะห์เหล่านี้เอง สามารถใช้เป็นการแจ้งเตือนภัยในพื้นที่นั้นๆ ได้ทันที รวมถึง สามารถช่วยบรรเทาทุกข์ และประเมินสถานการณ์ภาคพื้นดินได้อีกด้วย

ทวิตเตอร์ช่วยให้บริษัท องค์กรต่างๆ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงข้อมูลของทวิตเตอร์ผ่านแพลตฟอร์มเอพีไอ หรือ Application Programming Interface (APIs)  ที่จะช่วยให้สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นและเครื่องมือสำหรับผู้บริโภค ในการดึงข้อมูลเชิงลึกจากทวิตเตอร์มาใช้ได้ ตัวอย่างของเหตุการณ์หลังเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาทิ น้ำท่วมกรุงจาการ์ตาในอินโดนีเซีย เหตุการณ์ไฟป่ารุนแรงในออสเตรเลีย และพายุไต้ฝุ่นฮากิบิสที่ถล่มญี่ปุ่น ทวิตเตอร์ได้ร่วมมือกับ พีตา เบนคานา (Peta Bencana) และ แบรนด์วอทช์ (Brandwatch) ซึ่งเป็น พันธมิตรอย่างเป็นทางการของทวิตเตอร์ เพื่อช่วยให้ชุมชนในท้องถิ่นที่ประสบภัยได้เข้าใจแนวโน้มของภัยที่กำลังประสบจากข้อมูลการทวีตสนทนามากยิ่งขึ้น นอกจากการใช้บริการเหล่านี้เพื่อแบ่งปันทรัพยากร ระดมทุน และชุมนุมกันแล้ว การทวีตยังสร้างข้อมูลทางสังคมมากมายที่สามารถนำมาใช้เพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและวิกฤตในวงกว้างมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ที่กำหนดนโยบายสามารถตอบสนองต่อความต้องการเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินทางสภาพอากาศในอนาคตได้ด้วย

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> ป๊อกเด้งออนไลน์